วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14 

วันพุธ ที่ 30 พฤจิกายน 2559

เวลาเรียน 09.30-12.00
ความรู้ที่ได้รับ

-ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดในรายวิชานี้ อาจารย์ได้นัดเอาใบปั้มมาตรวจเพื่อที่จะให้คะแนนและรางวัล และในวันนี้มีการแจกสีเมจิในรายวิชานี้อีกด้วย
-จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกข้อสอบชิ้นสุดท้ายคือ STEAM ในหน่วยต่างๆดิฉันได้ หน่วย ผัก







ประเมินตัวเอง

-วันนี้เป็นครั้งสุดท้ายในรายวิชานี้ดิฉันตั้งใจเรียนเต็มที่และหวังว่าจะได้เกรดที่สวยงาม

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆทุกคนน่ารักนิสัยดีตั้งใจเรียนเป็นอย่างมากถึงแม้บางครั้งจะเสียงดังไปบ้างแต่เรีนด้วยแล้วก็สนุกสนานดีคะ

ประเมินอาจารย์

-อาารย์ทั้งสองคนสอนได้แตกต่างกันมีการสอนที่สไตล์ไม่เหมือนกันแต่ทั้งสองท่านก็ได้ให้ความรู้มากมายจนนักศึกษารับแทบไม่ไหว

การบันทึกครั้งที่ 13 

วันจันทร์ที่ 21 พฤจิกายน 2559

เวลาเรียน 13.30 - 17.30
ความรู้ที่ได้รับ

-ในสัปดาห์นี้ให้นักศึกาาแต่งนิทาน โดยจับกลุ่มแล้วร่วมกันแสดงความคิดสร้างสรรค์ระดมสมองในการแต่งนิทานและยังออกไปแสดงละครอีกด้วย





กลุ่มที่ 1 นิทาน เรื่องการเดินทางของจักรยาน


กลุ่มที่ 2 เจ้าเท้าเพื่อนรัก



กลุ่มที่ 3 ชาวประมงกับปลา







กลุ่มที่ 4 รองเท้าที่หายไป


กลุ่มที่ 5 ก้อนเมฆที่รัก



ให้แต่ละคนเขียนความคิดสร้างสรรค์เป็นกลุ่มและเป็นคน
การเล่นละคร เล่านิทานมีดังนี้
-ไม่บรรยายเล่นเลย
-บรรยายแล้วเล่นด้วยพูดด้วย
-บรรยายอย่างเดียว

จากนั้นกิจกรรมต่อไปจะเป็นการใช้อวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ทำยังไงก็ได้






ประเมินตัวเอง

-ได้ช่วยเพื่อนแสดงความคิดเห็นและการเล่นละครได้มีส่วนร่วมในส่วนต่างๆ

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนก็ช่วยกันระดมสมองระดมความคิดในการทำงาน

ประเมินอาจารย์

-อาารย์ได้สอนการการแต่งนิทานและยังได้บอกเคล็ดลับอีกด้วย

การบันทึกครั้งที่ 12 

วันจันทร์ที่ 14 พฤจิกายน 2559

เวลาเรียน 13.30 - 17.30
ความรู้ที่ได้รับ

-วันนี้เรียนความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเข้ากับทุกๆศาสตร์
  • ประกอบเพลง
  • ตามคำบรรยาย
  • ผู้นำผู้ตาม
  • ข้อตกลง
  • ความจำ
  • คำสั่ง

องค์ประกอบกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1.ร่างกายส่วนต่างๆ 
  • อยู่กับที่
  • ทำเสียง
2.พื้นที่
  • คอ ศอก เอว ขา แขน
  • ปริมาณ
  • ได้คิด
3.ระดับ 
  • สูง
  • กลาง
  • ต่ำ
4.ทิศทาง
  • หน้า - หลัง
  • เปลี่ยนทิศทางไม่ควรใช้ซ้าย - ขวา 
-เคลื่อนไหวพื้นฐาน
-เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหา

จากนั้นก็จะเป็นการสอนของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ข้อตกลง (กลุ่มดิฉัน)






กลุ่มที่ 2 ความจำ

กลุ่มที่ 3 ประกอบเพลง


กลุ่มที่ 4 ผู้นำผู้ตาม

กลุ่มที่ 5 ตามคำสั่ง

กลุ่มที่ 6 คำบรรยาย




ประเมินตัวเอง

-ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆพี่ๆและอาจารย์ทำให้ได้มีความรู้

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนแต่ละคนก็พากันคิดและทำกิจกรรมในการเรียนความคิดสร้างสรรค์

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์สอนการเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆและได้บอกองค์ประกอบที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กๆได้อีกด้วย

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 11 

วันจันทร์ที่ 7 พฤจิกายน 2559

เวลาเรียน 13.30 - 17.30
ความรู้ที่ได้รับ

-ในสัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอของเล่นที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มที่ 1 ทำของเล่นจากขวดน้ำ
กลุ่มที่ 2 ทำของเล่นจากกล่อง
กลุ่มที่ 3 ทำของเล่นจากกระดาษลัง
เพื่อนๆนำเสนอสิ่งประดิษฐ์

  • ตราช่างจากขวดน้ำ
  • กระดานที่ใช้ให้เด็กเขียน
  • กล่องกระดาษโต๊ะเครื่องแป้ง
  • จักรเย็บผ้า
  • ตู้กดน้ำ
  • เกมฟุตบอล
  • ตู้เสื้อผ้า
  • ไมโครเวฟ
  • เตียงนอน
  • ที่ใส่แปรงสีฟัน ดินสอ
  • ที่เปาลูกโปง
  • สปริงเกอรฺ
  • ที่ใส่สายไฟ
  • เก้าอี้
  • ทีวี
  • ห้องครัว





ผลงานของดิฉันคือ โทรทัศน์
อุปกรณ์

  1. กระดาษลัง
  2. กรรไกร
  3. กาว
  4. สีเมจิ
  5. หลอด
  6. ไม้ไอติม
  7. คัตเตอร์
  8. เทปกาวใส

ขั้นตอนการทำ
1.นำกระดาษลังมาวาดรูปสีเหลี่ยมตรงกลางให้เหมือนกับหน้าจอโทรทัศน์

2. เมื่อวาดเสร็จเรียบร้อยก็ใช้คัตเตอร์ตัดตามรอยที่วาดไว้

3.เมื่อตัดเสร็จเรียบร้อยก็จะได้ช่องสีเหลี่ยมเหมือนทีวีข้างหลังก็ตัดเป็นทางเข้าทางออกของเด็ก จากนั้นก็ใช้เทปกาวใสติดตรงมุมทั้ง4ด้านเพื่อทำเป็นฐาน 



4.จากนั้นก็ใช้ไม้ไอติมมาติดตรงขอบด้านล่างเพื่อทำเป็นขาของทีวี และใช้สีเมจิกตกแต่งรูปทรงของทีวื

5. ใช้ส่วนที่เหลือจากการตัดกระดาษลังมาวาดเป็นวงกลมและสามเหลี่ยมเพื่อใช้ทำเป็นปุ่มกดและเสาอากาศ

6. เมื่อวาดและตัดเสร็จเรียบร้อยก็นำกาวมาติดและนำไปตกแต่งเป็นปุ่มกดทีวี และใช้หลอดเป็นเสาอากาศก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


สิ่งประดิษฐ์ของดิฉันและเพื่อนๆ

-จากนั้นอาจารย์ก็จะย้อนไปตั้งคำถามคนล่ะ 1 คำถาม เช่น
ตั้งคำถามเพราะมันเป็นปัญหา หรือตั้งคำถามเพราะมันเป็นบทบาทสมมุติ ประสบการณ์สำคัญ
-สร้างสรรค์เพราะเราแก้ปัญหา , สร้างสรรค์โดยบทบาทสมมุติ


ประเมินตัวเอง

-รู้สึกภูมิใจในสิ่่งประดิษฐ์ของตัวเอง รู้สึกว่าเราตั้งใจที่จะประดิษฐ์มันขึ้นมาเพื่อเด็กๆ

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนทุกคนล้วนตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์ในแบบของตัวเองไม่มีใครผิดเพราะมันเป็นความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์ได้สอนและดูสิ่งประดิษฐ์ของของนักศึกษาแต่ละคนและก็บอกข้อแก้ไขในส่วนที่ต้องปรับปรุง